นิด้าโพล เผยผลสำรวจ “การแจกเงินดิจิทัลวอลเลต ควรไปต่อหรือพอแค่นี้-”

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “การแจกเงินดิจิทัลวอลเลต ควรไปต่อหรือพอแค่นี้?” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 9-11 ตุลาคม 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาคระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการแจกเงินดิจิทัลวอลเลต 10,000 บาท

นิด้าโพล เผยผลสำรวจ 59% ควรบังคับให้ใส่ชุดนักเรียนไปโรงเรียนต่อไป

นิด้าโพล เผยผลสำรวจ “เลือกนายกรัฐมนตรี สังคมแตกแยก?”

การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่าง ด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น 97%

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความกังวลของประชาชนต่อนโยบายการแจกเงินดิจิทัลวอลเลต 10,000 บาท ว่าอาจจะทำให้ได้ไม่คุ้มเสียกับประเทศ (เช่น เกิดภาวะเงินเฟ้อ ข้าวของแพงขึ้น ไม่กระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ) ตามคำเตือนของ 99 นักวิชาการและคณาจารย์เศรษฐศาสตร์ พบว่า

  • 30.92% ระบุว่า ค่อนข้างกังวล
  • 28.47% ระบุว่า ไม่กังวลเลย
  • 25.27% ระบุว่า กังวลมาก
  • 15.19% ระบุว่า ไม่ค่อยกังวล
  • 0.15% ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อการดำเนินนโยบายการแจกเงินดิจิทัลวอลเลต 10,000 บาท พบว่าคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

  • 47.10% ระบุว่า ดำเนินนโยบายต่อ แต่ควรมีการปรับให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน
  • 32.52% ระบุว่า ดำเนินนโยบายต่อตามที่ได้หาเสียงไว้
  • 18.85% ระบุว่า ควรหยุดการดำเนินการในนโยบายนี้ได้แล้ว
  • 1.53% ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ส่วนการรับเงินดิจิทัลวอลเลต 10,000 บาท ของประชาชน พบว่า 79.85% ระบุว่า รับเงินและนำไปใช้จ่าย, 13.51% ระบุว่า ไม่รับเงิน, 5.42% ระบุว่า รับเงิน แต่ไม่นำไปใช้จ่าย และ 1.22% ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนต่อคะแนนนิยมพรรคเพื่อไทย หากรัฐบาลยกเลิกนโยบายการแจกเงินดิจิทัลวอลเลต 10,000 บาท พบว่า

  • 60.00% ระบุว่า ส่งผลกระทบให้คะแนนนิยมพรรคเพื่อไทยลดลง
  • 29.92% ระบุว่า ไม่ส่งผลกระทบใด ๆ กับคะแนนนิยมพรรคเพื่อไทย
  • 6.49% ระบุว่า ส่งผลให้คะแนนนิยมพรรคเพื่อไทยเพิ่มขึ้น
  • 3.59% ระบุว่า ไม่ทราบ/ ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า 8.55% มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ, 18.55% มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง, 18.01% มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ, 33.44% มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 13.74% มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และ 7.71% มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก, 48.09% เป็นเพศชาย และ 51.91% เป็นเพศหญิง

12.90% อายุ 18-25 ปี, 17.79% อายุ 26-35 ปี, 18.93% อายุ 36-45 ปี, 26.64% อายุ 46-59 ปี และ 23.74% อายุ 60 ปีขึ้นไป

96.41% นับถือศาสนาพุทธ, 2.60% นับถือศาสนาอิสลาม และ 0.99% นับถือศาสนาคริสต์และศาสนาอื่น ๆ

33.82% สถานภาพโสด, 63.82% สมรส และ 2.36% หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่, 26.03% จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า, 36.41% จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า, 8.02% จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า, 24.73% จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และ 4.81% จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

7.86% ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ, 17.48% ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน, 20% ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ, 12.44% ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง, 17.10% ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน, 19.77% เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน, 5.19% เป็นนักเรียน/นักศึกษา และ 0.08% เป็นพนักงานองค์กรอิสระ ที่ไม่แสวงหากำไร และไม่ระบุอาชีพ ในสัดส่วนที่เท่ากัน

21.76% ไม่มีรายได้, 24.20% รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท, 27.71% รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท, 8.47% รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท, 5.04% รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท, 4.20% รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และ 8.62% ไม่ระบุรายได้

By admin

Related Post