วันที่ 12 กันยายน เวลา 23.55 น. นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เป็นผู้อภิปรายสรุปในส่วนของพรรคก้าวไกล ต่อการแถลงนโยบายของรัฐบาล โดยสรุปว่า คำแถลงนโยบายรัฐบาล นอกจากนโยบายเงินดิจิทัลแล้ว ที่เหลือเป็นการเขียนนโยบายที่กว้างจนไม่เห็นรายละเอียดถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาล ไม่มีการแยกหมวดหมู่ของนโยบาย ไม่กล้ารับปากประชาชน สะท้อนให้เห็นถึงการแบ่งสรรผลประโยชน์ระหว่างรัฐบาลข้ามขั้วที่อาจจะยังไม่ลงตัว โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นเพียงนักแสดงนำชาย ซึ่งสงสัยว่าท่านจะมีอำนาจในการตัดสินใจจริงหรือไม่
ครม.เศรษฐา แถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา วันที่สอง 12 ก.ย. 2566
แถลงนโยบายรัฐบาล : "โรม" เปิดคลิปเสียงแฉ สว.อ้าง 2 บิ๊ก ตร.เคลียร์คดียาเสพติด
แถลงนโยบายรัฐบาล : เพื่อไทย-ก้าวไกล โต้เดือด! วาทกรรมตระบัดสัตย์จนต้องลาออก
โดยคำแถลงนโยบายตั้งแต่สมัย รัฐบาลทักษิณ รัฐบาลอภิสิทธิ์ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ และรัฐบาลประยุทธ์ ต่างมีการแบ่งหมวดหมู่เอาไว้อย่างชัดเจน แต่ของรับบาลเศรษฐา ทวีสิน กลับมีแค่ 14 หน้า และไม่มีการแยกหมวดหมู่นโยบายเหมือนกับรัฐบาลก่อนๆ การสื่อสารนโยบายยังมีความกลับไปกลับมา เช่น กรณีดิจิทัลวอลเลต ทั้งเรื่องวันเวลาที่ได้ใช้นโยบาย การโอนจ่าย 2-3 งวด หรือจ่ายงวดเดียว จะใช้เทคโนโลยี Blockchain หรือดำเนินการผ่านแอพลิเคชั่น “เป๋าตัง”
“ที่บอกว่าจะสร้างพายุหมุนทางเศรษฐกิจ คิดว่าน่าจะหมุนจริงๆ เพราะแค่ฟังการพูดเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาประชาชนก็หัวหมุนอยู่พอสมควร นโยบายที่พูดกี่ทีก็ไม่ตรงกันแบบนี้ข้าราชการจะทำงานได้อย่างไร”
หรือนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ก็ยังสื่อสารไม่ตรงกัน ทั้งนี้นโยบายที่ไม่ชัดเจน สื่อสารไม่ตรงกัน พูดชักเข้าชักออกแบบนี้ ถ้าไม่แก้ไขจะมีปัญหาในการขับเคลื่อนนโยบายอย่างมาก เพราะข้าราชการก็ไม่รู้ว่าจะเริ่มงานอย่างไร พอเริ่มแล้วรัฐมนตรีกับนายกรัฐมนตรีพูดไม่ตรงกันก็จะเสียเวลา สุดท้ายนโยบายก็จะดำเนินการไปอย่างล่าช้า ผลกระทบก็ตกอยู่กับประชาชน
นายวิโรจน์ยังอภิปรายต่อไป ว่าสิ่งที่เป็นปัญหาที่สุดของคำแถลงนโยบายฉบับนี้ ไม่ใช่แค่การสื่อสาร แต่คือการที่ประชาชนไม่เห็นความทะเยอทะยานและความกล้าที่จะรับปากให้คำมั่นกับประชาชนอย่างที่ควรจะเป็น ซึ่งแตกต่างจากรัฐบาลทักษิณ 1 ทักษิณ 2 หรือรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ที่กล้าเขียนตัวเลข ตรงๆ เช่น นโยบายค่าแรงวันละ 300 บาท ในยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ แล้วยุคนายกฯเศรษฐา ค่าแรง 600 บาท ภายในปี 2570 ทำไมไม่เขียนตรงๆ ทำไมต้องเขียนแบบคลุมเครือว่า “ค่าแรงขั้นต่ำที่เป็นธรรม”
ทั้งนี้ตนขอถามตรงๆ เลยว่าปี 2567 ที่อีกไม่กี่เดือนก็จะถึง ค่าแรงขั้นต่ำที่เป็นธรรมจะเป็น 400 บาท ตามที่ท่านปราศรัยต่อหน้าพี่น้องชาวดอนเมืองเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2566 และย้ำอีกครั้งกับพี่น้องชาวสกลนครเมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2566 หรือไม่ และการที่ท่านบอกว่า ค่าแรง 600 บาท ต้องอยู่บนข้อสันนิษฐานว่าเศรษฐกิจจะต้องโตถึง 5% จนมีข้อกังวลว่าถ้าปีไหนเศรษฐกิจไม่โตถึง 5% ภายในปี 2570 ค่าแรงจะถึง 600 บาทหรือไม่
ส่วนเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ รัฐบาลนี้จะเอาอย่างไร มีแต่ในคำแถลงนโยบายว่าจะดูแลผู้สูงอายุให้มีเกียรติมีศักดิ์ศรี มีงาน มีรายได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเดิม ทำให้เกิดคำถามว่าตกลงแล้วผู้สูงอายุ 11 ล้านคน จะต้องพิสูจน์ความจนหรือไม่เช่นเดียวกันเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดที่ประกาศเลื่อนจ่ายเด็ก 2.3 ล้านคน ซึ่งต้องประกาศให้ชัดเจน ก็คือต่อไปจากนี้จะเอาอย่างไรกับนโยบายสวัสดิการ จะสร้างเงื่อนไขอะไรเพื่อตัดสวัสดิการของประชาชนหรือไม่ หรือนโยบายเพิ่มรายได้ของเกษตรกร ที่นายกรัฐมนตรีได้รับปากกลางสภาไว้แล้วว่าจะเพิ่มเป็น 3 เท่าภายใน 4 ปี ขอถามตรงๆ ว่าปีหน้าจะเพิ่มขึ้นกี่เปอร์เซ็นต์
นโยบายที่บอกว่าจะสนับสนุนให้เกิดการบริหารจัดการราคาพลังงาน และค่าไฟฟ้าให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมทันทีนั้น นายกรัฐมนตรีต้องตอบให้ชัด ว่าจะจัดการกับต้นตอของปัญหาค่าไฟฟ้าแพงที่เกิดจากการกินรวบของนายทุนโรงไฟฟ้าอย่างไร จะบริหารจัดการอย่างไรกับปริมาณไฟฟ้าสำรองที่สูงถึง 50% ของปริมาณความต้องการใช้ และจะทำอย่างไรกับสัญญาที่ไม่เป็นธรรมที่ กฟผ. ต้องจ่ายค่าพร้อมจ่ายให้กับโรงไฟฟ้าเอกชน ที่ไม่ได้เดินเครื่อง แต่ทำตัวเป็นเสือนอนกินรับเงินจากรัฐบาลฟรีๆ และจะทำอย่างไรโควต้าพลังงานหมุนเวียนที่ประเคนให้กับนายทุนพลังงานผูกขาดหน้าเดิมๆ หรือกรณีของทุนผูกขาด ซึ่งนโยบายดิจิทัลวอลเลตจะไม่มีการกีดกันทุนใหญ่แล้ว ตนยิ่งเกิดคำถามขึ้นมาว่านายกรัฐมนตรีรู้หรือสมคบคิดกันหรือไม่กับทุนใหญ่ เพราะถ้าทุนใหญ่ไม่ถูกกีดกันอะไรเลย ไปตั้งจุดจำหน่ายสินค้าในชุมชนหมู่บ้าน ลงทุนแค่ 6 เดือน เม็ดเงินระดับหลายหมื่นถึงแสนล้านจะถูกสูบเข้ากระเป๋าส่วนกลางของนายทุนเหล่านี้ทั้งสิ้น
ส่วนปัญหาผู้มีอิทธิพลและการทุจริตคอร์รัปชั่น ในคำแถลงนโยบายฉบับนี้ไม่มีความชัดเจนในการจัดการกับปัญหาเหล่านี้เลย ส่วนการพัฒนาร่วมกันแทนการปฏิรูปกองทัพ โดยจะให้มาช่วยเหลือประชาชนเรื่องบรรเทาสาธารณภัย ท่านคงลืมไปว่าประเทศนี้มีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สังกัดกระทรวงมหาดไทย พร้อมเรียกร้องว่ารัฐบาลจะต้องปฏิรูปกองทัพ
สุดท้ายคำแถลงนโยบายฉบับนี้ มีแต่ความคลุมเครือ ต่างจากยุคของนายกฯ ทักษิณ และนายกฯ ยิ่งลักษณ์ อย่างชัดเจน จากรัฐบาลพรรคเพื่อไทยที่เคยคิดใหญ่ทำเป็น ทำไมวันนี้ถึงได้กลายเป็นรัฐบาลที่คิดน้อย ไม่กล้าทำ เหมือนต้องรอการอนุญาตจากผู้มีอำนาจตัวจริง เหมือนถูกพรรคร่วมรัฐบาลบีบคอขอร่วมพัฒนาอยู่ ความทะเยอทะยานที่เคยมีในสมัยพรรคไทยรักไทยทำไมวันนี้แฟนคลับอย่างตนต้องมาถามว่าหายไปไหนหมด
นายวิโรจน์ยังได้กล่าวทิ้งท้าย ว่าท่านต้องมีความทะเยอทะยาน กล้าที่จะรับปากให้คำมั่นกับประชาชน ประชาชนก็จะมีความมั่นคงในการดำเนินชีวิต กล้าที่จะมีความฝัน ฝากอนาคตเดิมพันชีวิตเอาไว้กับรัฐบาล ถ้าท่านเอาความหวังดีของตนและเพื่อนสมาชิกตลอดจนพรรคร่วมฝ่ายค้านไปพิจารณาในการพิจารณางบประมาณในวาระที่ 1 ที่จะเกิดขึ้นเร็วๆ ตนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าในวันนั้น นายเศรษฐา ทวีสิน จะมีความทะเยอทะยานและความมั่นใจในฐานะหัวหน้ารัฐบาลมากกว่าวันนี้
"บิ๊กโจ๊ก" ได้คำตอบแล้ว! ปมข้อสังเกต "ผกก.เบิ้ม" ปีนรั้วเข้าบ้าน คำพูดจาก สล็อตวอเลท
แถลงนโยบายรัฐบาล : “เศรษฐา” น้อมรับคำติชม-ดูถูก ยอมรับเป็นมือใหม่แต่ตั้งใจ
Apple เปิดตัว "iPhone 15" พร้อมผลิตภัณฑ์ใหม่ ขายพร้อมกัน 22 ก.ย.นี้!