การสู้รบที่หนักหน่วงเกิดขึ้นไปพร้อมๆ กับความพยายามของกลุ่มประเทศแอฟริกาที่เสนอให้ยูเครนกับรัสเซียขึ้นโต๊ะเจรจาสันติภาพ
เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา คณะผู้แทนสันติภาพจากจากแอฟริกาเดินทางไปพบกับประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกีที่กรุงเคียฟ ก่อนที่เมื่อวานจะพบกับประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินที่นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก
โดยคณะผู้แทนนี้นำโดยประเทศแอฟริกาใต้ซึ่งมีจุดยืนปฏิเสธที่จะประณามหรือคว่ำบาตรรัสเซีย
เอกสารลับที่ถูกอ้างเป็นข้อมูลข่าวกรองสหรัฐฯ คาดสงครามยูเครน-รัสเซีย มีแนวโน้มยืดเยื้อตลอดปี
รัสเซียชี้สหรัฐมัดมือยูเครน "ห้ามหยุดยิง" ทำให้สงครามยืดเยื้อ
วานนี้ 17 มิ.ย. ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินของรัสเซียได้เปิดประราชวัง Konstantinovsky ( คอนสแตนทีนอฟสกี) ในนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเพื่อต้อนรับผู้นำจากแอฟริกา เช่น ไซริล รามาโฟซา ประธานาธิบดีแอฟริกาใต้, แม็กคีย์ ซัลล์ ประธานาธิบดีเเซเนกัล, ไฮคานเด ฮิชิเลมา ประธานาธิบดีแซมเบีย และมุสตาฟา มัดบูลี นายกรัฐมนตรีอียิปต์
ผู้นำเหล่านี้มาในฐานะคณะผู้แทนสันติภาพจากแอฟริกา เป้าหมายหลักคือเพื่อขอให้รัสเซียและยูเครนขึ้นโต๊ะเจรจาเพื่อยุติสงคราม
แอฟริกาเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่ได้รับกระทบจากสงครามหนักที่สุด เนื่องจากประชากรที่ส่วนใหญ่มีฐานะยากจนต้องเผชิญกับราคาธัญพืชที่พุ่งสูงขึ้นหลังจากยูเครนไม่สามารถส่งออกสินค้าเหล่านี้ได้เหมือนเดิมเนื่องจากรัสเซียปิดเส้นทางขนส่งในทะเลดำ
ที่ผ่านมา แอฟริกาค่อนข้างสงวนท่าทีต่อสงครามในยูเครน โดยเฉพาะประเทศแอฟริกาใต้ซึ่งเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่ไม่ประณามรัสเซียในการประชุมสมัชชาใหญ่ของสหประชาชาติ รวมถึงไม่เคยประกาศคว่ำบาตรรัสเซียด้วย โดยระบุว่าต้องการรักษาสถานะในการเป็นตัวกลาง
ทั้งนี้ก่อนหน้าเดินทางมาที่รัสเซียเพื่อพบกับประธานาธิบดีปูติน ผู้นำชาติแอฟริกากลุ่มนี้ได้เดินทางไปหารือกับประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกีที่กรุงเคียฟของยูเครนมาแล้ว
โดยในระหว่างที่พูดคุยกับผู้นำรัสเซีย ไซริล รามาโฟซา ประธานาธิบดีแอฟริกาใต้ได้ระบุว่า ถึงเวลาแล้วที่ต้องยุติสงครามที่กำลังทำความเดือดร้อนอย่างหนักให้กับหลายประเทศทั่วโลก และการจะยุติสงครามได้ รัสเซียและยูเครนต้องขึ้นโต๊ะเจรจา โดยทางแอฟริกามีข้อเสนอที่ทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายยอมรับได้
ทั้งนี้ข้อเสนอจากประเทศแอฟริกามีทั้งหมด 6 ข้อ หนึ่งในนั้นคือรัสเซียต้องถอนทหารออกจากยูเครน โดยมีเงื่อนไขว่าศาลอาญาระหว่างประเทศต้องระงับการบังคับใช้หมายจับประธานาธิบดีปูตินไว้ชั่วคราว
โดยการขอให้รัสเซียถอนทหารออกจากยูเครนเป็นหนึ่งในประเด็นที่ทำให้ประธานาธิบดีปูตินไม่ค่อยชอบใจ ในระหว่างการพูดคุย ผู้นำรัสเซียได้ขัดจังหวะพร้อมพูดว่า ร่างข้อเสนอนี้ถูกทำขึ้นด้วยความเข้าใจผิดต่อสถานการณ์ที่แท้จริง พร้อมกับหยิบเอกสารปึกหนึ่งขึ้นมาโชว์และระบุว่า รัสเซียไม่เคยปฏิเสธการเจรจาสันติภาพและพยายามทำมาตลอด โดยได้มีการเซ็นสัญญากับยูเครนแล้ว แต่เป็นฝ่ายยูเครนที่เบี้ยวไม่ยอมทำตามสัญญา
มีรายงานว่า ไม่มีใครทราบรายละเอียดว่าเอกสารที่ประธานาธิบดีปูตินนำมากล่าวอ้างถูกทำขึ้นที่ไหนและเมื่อไหร่
ทั้งนี้ ในทางสาธารณะ รัสเซียกับยูเครนเคยพูดคุยกันเพียง 3 ครั้งในช่วงเดือนแรกๆ ของสงคราม โดยเป็นการพูดคุยของเจ้าหน้าที่ระดับสูงและไม่มีรายงานว่าทั้งคู่ได้เซ็นเอกสารใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับสันติภาพ
นอกเหนือจากข้อเสนอให้รัสเซียถอนทหารจากยูเครนแล้ว อีกหนึ่งข้อเสนอของผู้นำแอฟริกาใต้ที่ทำให้ประธานาธิบดีปูตินไม่ค่อยพอใจคือ การที่แอฟริกาขอให้รัสเซียเปิดเส้นทางในทะเลดำเพื่อให้ยูเครนสามารถส่งออกธัญพืชและปุ๋ยได้อีกครั้ง โดยประธานาธิบดีปูตินได้ตอบกลับไปว่า การเปิดเส้นทางทะเลดำไม่ได้ช่วยให้ปัญหาการขาดแคลนธัญพืชหมดไปเพราะของที่ส่งออกมาเกือบทั้งหมดจะถูกส่งไปประเทศร่ำรวยก่อน
ดูจากท่าทีของผู้นำรัสเซีย หลายฝ่ายประเมินว่าโอกาสที่ประธานาธิบดีปูตินจะพารัสเซียขึ้นโต๊ะเจรจากับยูเครนเพื่อยุติสงครามยังเป็นไปได้ยาก เพราะนอกจากมีท่าทีที่ไม่เห็นด้วยต่อข้อเสนอของตัวกลางอย่างกลุ่มประเทศแอฟริกาแล้ว เมื่อวานนี้ประธานาธิบดีปูตินได้ออกมาประกาศว่า อาวุธนิวเคลียร์เชิงยุทธวิธีชุดแรกของรัสเซียถูกเคลื่อนย้ายไปติดตั้งที่ประเทศเบลารุสเรียบร้อยแล้ว และการถ่ายโอนหัวรบนิวเคลียร์ทั้งหมดจะเสร็จสิ้นภายในเดือนสิงหาคมที่จะถึงนี้
เบลารุสมีพรมแดนติดกับประเทศยูเครน เป็นพันธมิตรที่สำคัญที่สุดของรัสเซีย โดยที่นี่เป็นจุดหนึ่งที่รัสเซียใช้เป็นฐานในการเคลื่อนกำลังพลบุกยูเครนตั้งแต่ช่วงวันที่ 24 ก.พ.ปีที่แล้ว
คำพูดจาก เว็บสล็อตเว็บตรง